AI vs. Machine Learning vs. Deep Learning

AI, Machine Learning, Deep Learning คงจะเคยได้ยิน ได้เห็นกันมาบ้าง แต่แล้วความแตกต่างมันคืออะไรหละ

AI vs. Machine Learning vs. Deep Learning
รูปภาพจาก: semi

จากรูปข้างต้นก็พอจะเห็นถึงที่มาได้แล้วว่าคืออะไร โดย AI ถือว่าเป็นศาสตร์แขนงหนึ่งซึ่งมี Machine Learning เป็นหนึ่งในศาสตร์ของ AI และ Deep Learning ถือเป็นศาสตร์ของ Machine Learning อีกทีนึง ตามรูปต่อไปนี้เลย

AI vs. Machine Learning vs. Deep Learning
รูปภาพจาก: thaikeras

Artificial Intelligence หรือปัญญาประดิษฐ์ เป็นศาสตร์แขนงหนึ่ง ที่วิจัยและพัฒนาคอมพิวเตอร์ให้มีความสามารถในการเรียนรู้พฤติกรรม การคิด การตัดสินใจ แบบสมองที่ซับซ้อนของมนุษย์ หรือว่าง่ายๆ คือ การทำให้คอมพิวเตอร์ ทำงานได้ชาญฉลาดเหมือนสมองของคนนั่นเอง

Machine Learning คือ ส่วนการเรียนรู้ของเครื่อง ถูกใช้งานเสมือนเป็นสมองของ AI (Artificial Intelligence) เราอาจพูดได้ว่า  AI ใช้ Machine Learning ในการสร้างความฉลาด มักจะใช้เรียกโมเดลที่เกิดจากการเรียนรู้ของปัญญาประดิษฐ์ ไม่ได้เกิดจากการเขียนโดยใช้มนุษย์ มนุษย์มีหน้าที่เขียนโปรแกรมให้ AI (เครื่อง) เรียนรู้จากข้อมูลเท่านั้น ที่เหลือเครื่องจัดการเอง

Machine Learning เรียนรู้จากสิ่งที่เราส่งเข้าไปกระตุ้น แล้วจดจำเอาไว้เป็นมันสมอง ส่งผลลัพธ์ออกมาเป็นตัวเลข หรือ code ที่ส่งต่อไปแสดงผล หรือให้เจ้าตัว AI นำไปแสดงการกระทำ Machine Learning เองสามารถเอาไปใช้งานได้หลายรูปแบบ ต้องอาศัยกลไกที่เป็นโปรแกรม หรือเรียกว่า Algorithm ที่มีหลากหลายแบบ โดยมี Data Scientist เป็นผู้ออกแบบ หนึ่งใน Algorithm ที่ได้รับความนิยมสูง คือ Deep Learning ซึ่งถูกออกแบบมาให้ใช้งานได้ง่าย และประยุกต์ใช้ได้หลายลักษณะงาน อย่างไรก็ตาม ในการทำงานจริง Data Scientist จำเป็นต้องออกแบบตัวแปรต่างๆ ทั้งในตัวของ Deep Learning เอง และต้องหา Algorithm อื่นๆ มาเป็นคู่เปรียบเทียบ เพื่อมองหา Algorithm ที่เหมาะสมที่สุดในการใช้งานจริง

แล้ว Machine Learning จะทำงานได้ยังไงหละ แน่นอนว่า Deep Learning

Deep Learning คือ อัลกอริทึมต้องใช้ ‘ โครงข่ายใยประสาทเสมือน’ (Artificial Neural Networks (ANN)) ซึ่งก็เหมือนวิธีการทำงานของระบบประสาทในสมองมนุษย์ โครงข่ายเหล่านี้มี ‘เซลล์ประสาท’ ที่เชื่อมต่อกันเป็น ‘ระบบประสาท’ และสื่อสารกัน โดยใช้วิธีประมวลผลแบบขนาน (parallel processing) เพื่อทำให้มันสามารถเข้าใจและเรียนรู้จากข้อมูลจำนวนมากที่ได้รับอย่างต่อเนื่อง

สมองคนเรามักจะพยายามถอดรหัสข้อมูลที่ได้รับ อีกทั้งมักจะติดป้ายและการกำหนดสิ่งต่างๆ แบ่งแยกเป็นหมวดหมู่ เมื่อใดก็ตามที่เราได้รับข้อมูลใหม่สมองจะพยายามเปรียบเทียบกับสิ่งที่เราได้รู้ก่อนหน้า ก่อนที่จะทำความเข้าใจกับมัน เช่นเดียวกัน DL ก็สามารถถูกสอนให้ทำงานในลักษณะเดียวกันให้สำเร็จได้

จากที่ว่ามาทั้งหมดนั้น  ทั้งสามอย่างถือว่าเป็นเรื่องเดียวกัน มีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน และในปัจจุบัน AI ก็ยังมีผลต่อชีวิตประจำวันในเรื่องต่างๆ การนำ AI มาประยุกต์ใช้ก็มีให้เห็นมากมายๆ อาทิเช่น Netflix, Amazon, Google และอื่นๆอีกมากมาย

ที่มา: techsauce thaiprogrammer thaikeras coraline